โค๊ตสกอบาร์ วางที่สคริป

บรรยากาศการสอนของเพื่อนๆ

สื่อคณิต

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะการเรียนรุ้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ทุกเวลาและสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตอลอดเวลา เพื่อฝึกให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กจะเริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์ ทำให้เด็กสามารถเข้าใจตัวเลขได้ง่าย โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก ผู้สอนควรคำนึงถึงการพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระสาระที่
1 จำนวนและการดำเนินการสาระที่
2 การวัดสาระที่
3 เรขาคณิตสาระที่
4 พีชคณิตสาระที่
5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์
3.จงเลือกและอธิบายสาระทางศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
4. การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ
7. การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
8. การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
13. ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน
16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ 2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กนับผลไม้ด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการการนับ การจับคู่ การจำแนก จะมีวิธีนับได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงต่างออกไป เด็กก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หน่วยดอกไม้(งานกลุ่ม)


บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้เป็นการเรียนการสอนในคาบสุดท้ายค่ะ ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันนี้มีลายละเอียด คือ
-การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแต่ละหน่วยควรสอนอย่างไร ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจและความสามารถของเด็ก
-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย เช่น แบบสังเกต เป็นต้น
และอาจารย์ได้สั่งงานให้เขียนบันทึกครั้งสุดท้ายลงใน blog เป็นครั้งสุดท้าย และสรุปการเรียนการสอนที่เรียนมาทั้งหมดค่ะ

แผนการจัดการเรียนรู้



หน่วยเรื่อง ส่วนประกอบของดอกกุหลาบ กิจกรรม เสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาล 2
ขั้นนำ
เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของดอกไม้แต่ละชนิดที่เด็กๆได้เรียนรู้ผ่านมาแล้ว
เพลงดอกไม้
ดอกไม้หลากพันธุ์สวยงามสดสี
เหลืองแดงม่วงมี แสดขาวชมพู่ๆๆ
ขั้นสอน
1. ครูแจกดอกกุหลาบให้เด็กๆ คนละ 1 ดอก จากนั้นเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับส่วนประกอบของดอกกุหลาบว่าดอกกุหลาบแต่ละชนิดมีส่วนประกอบต่างๆ คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสร ก้าน ใบ โดยให้เด็กสังเกตส่วนประกอบของดอกกุหลาบไปพร้อมๆ กับครูและบอกชื่อส่วนประกอบของดอกกุหลาบทีละส่วน
2.เด็กออกมาจำแนกส่วนประกอบของดอกไม้ทีละคน จากนั้นให้เด็กนำส่วนประกอบของดอกกุหลาบที่ละส่วนไปติดตามรูปภาพทีละส่วนให้ครบ
ขั้นสรุป
เด็กและครูสรุปร่วมกันว่า ดอกไม้มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสร ก้าน ใบ ซึ่งดอกไม้ทุกชนิดจะมีส่วนประกอบเหล่านี้ ดอกไม้บางชนิดมีครบทุกส่วนประกอบ บางชนิดมีไม่ครบ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวัน 11กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้ก็เป็นอีกวันแล้วนะค่ะ ที่มีการนำเสนอการสอนของเพื่อนๆกลุ่ม A หน่วย แมลง เพื่อนๆกลุ่มA เทคนิคการสอนที่หลากหลายและแทรกคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย ตลอดการนำเสนอทั้ง 2 กลุ่มที่ผ่านมา พวกเราได้คำแนะนำมากมายค่ะ และจะนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะนำไปใช้ในการสอนต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนวัน 10 กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้เป็นวันที่พวกเรามีการเรียนการสอนชดเชยค่ะ อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอการสอน พร้อมกับแผนการสอน โดยอาจารย์ให้กลุ่ม A หรือB กลุ่มใดก็ได้ออกก่อน แต่อยากให้พวกเราเริ่มตั้งแต่อนุบาล 1 แต่ไม่มีเพื่อนกลุ่มไหนออกก่อน พวกเรากลุ่ม B หน่วย ดอกไม้ อนุบาล 2 เลยออกก่อน พวกเราในกลุ่มตื่นเต้นมากๆค่ะ ต่างคนต่างเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่เตรียมมาให้พร้อม พอถึงคิวของดิฉันที่ต้องสอนหน่วย ลักษณะของดอกกุหลาบ เป็นการสอนในวันที่ 2 ค่ะ พอสอนไปได้ครึ่งหนึ่งอาจารย์ก็คอมเม้นต์ ว่ามันป็นเรื่องของส่วนประกอบของดอกกุหลาบไม่ใช่ลักษณะของดอกไม้ และให้ข้อแนะนำถึงเทคนิคการสอนว่าควรปรับปรุงและเขียนแผนใหม่ และอาจารย์ให้การเขียนสาระการเรียนรู้และประสบการสำคัญให้ถูกต้องให้ไปดูที่หลักสูตร อาจารย์ก็ให้พวกเราไปปรับเปลี่ยนการสอนที่ให้ต่อเนื่องกัน เปรียบเหมือนการเขียนแผนคนเดียวที่เข้าใจและสอดคล้องกัน หลังจากนั้นก็เป็นกลุ่มอนุบาล 1และ 3 อาจารย์ก็ให้คำแนะนำเทคนิคแตกต่างๆออกกันไปค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากมาย

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้อาจารย์กำหนดการเขียนแผนการสอนส่ง แต่พวกเรายังทำไม่ถูกต้องเนื้อหายังไม่สมบรูณ์และรายละเอียดยังไม่มากพอ อาจารย์จึงเปิดดูงานของแต่ละคนแล้วแนะนำวิธีการสอนและเทคของแต่ละคน มาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง แล้ววันพุธหน้ามีการเรียนชดเชย โดยให้พวกเราเตรียมการสอนพร้อมสื่ออุปกรณ์ให้เรียบร้อย